วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรดา


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯเยี่ยมราษฎรในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ และได้ทราบถึงปัญหาต่างๆที่สร้างความเดือดร้อนให้กับพสกนิกรของพระองค์ โดยเฉพาะทางด้านการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ และอื่นๆ จึงมีพระราชดำริที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านั้น โดยใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐานเป็นที่ตั้งของโครงการส่วนพระองค์เกี่ยวกับการเกษตร คล้ายกับจำลองความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพของราษฎรจากภาคต่างๆทั่วประเทศมาอยู่ในบริเวณที่ประทับ เพื่อจะได้ทดลองหาวิธีแก้ไขปัญหาต่างๆให้ถูกต้องและตรงจุดด้วยพระองค์เอง วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน ๑. เป็นโครงการทดลอง๒. เป็นโครงการตัวอย่าง๓. เป็นโครงการซึ่งไม่หวังผลกำไรตอบแทน

โครงการส่วนพระองค์ฯแบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือ
๑. โครงการแบบไม่ใช่ธุรกิจโครงการแบบไม่ใช่ธุรกิจ เป็นโครงการที่สนองแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร ทรงให้ความสำคัญกับการเพิ่มพูนคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ในระยะยาวโดยมีแนวทาง ที่สำคัญคือ การทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ทางด้านอาหาร และสนับสนุนให้มีรายได้เพิ่มขึ้นนอกเหนือไป จากภาคเกษตร อีกทั้งเน้น การพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ตัวอย่างโครงการเหล่านี้ได้แก่
ปลาหมอเทศ
ปลานิล
การผลิตแก๊สชีวภาพ
นาข้าวทดลอง
ป่าไม้สาธิต
เชื้อเพลิงเขียว
โครงการบำบัดน้ำเสีย
เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
โครงการหวาย
โครงการทดลองปลูกพืชโดยปราศจากดิน
โรงหล่อเทียนหลวง
สาหร่ายเกลียวทอง
ห้องปฎิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ๒. โครงการแบบกึ่งธุรกิจ เป็นโครงการทดลองแปรรูปผลิตภัณฑ์จากการเกษตร ซึ่งมีการจัดผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายในราคาย่อมเยาในรูปแบบที่ไม่หวังผลกำไร แต่มุ่งส่งเสริมให้ประชาชนบริโภคสินค้าที่ผลิตได้ในประเทศไทยซึ่งมีคุณภาพและราคาไม่แพงโครงการเหล่านี้ ได้แก่
โรงโคนมสวนจิตรลดา
ศูนย์รวมนม
โรงนมผงสวนดุสิต
โรงนมเม็ด
โรงเนยแข็ง-ไอศกรีม
โรงผลิตน้ำผลไม้
โรงอบผลไม้
โรงผลิตน้ำผลไม้กระป๋อง
โรงสีข้าวทดลอง
โรงบด-อัดแกลบ
โรงกระดาษสา
โรงปุ๋ยอินทรีย์
โรงอาหารปลา
โรงเพาะเลี้ยง
ในการดำเนินงานของโครงการส่วนพระองค์ฯนั้นได้เน้นหนักให้เห็นถึงการใช้ในด้านทรัพยากรธรรมชาติ และปัจจัยทางการเกษตรที่ประเทศไทยเรามีอยู่ นำมาใช้สอยอย่างประหยัด และให้ได้ประโยชน์สูงสุด ด้วยขั้นตอนการผลิตที่สามารถ ทำได้ไม่ยากนัก โดยคำนึงถึงการใช้ปัจจัยทางการเกษตรและวัสดุเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์สูง เป็นการประหยัดทั้งงบประมาณและเวลา อีกทั้งอาศัยความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการศึกษา ค้นคว้าและทดลอง เพื่อรวบรวมข้อมูลและผลที่ได้จากการทดลอง นำไปเผยแพร่เพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับการเกษตร และประชาชนทั่วไปที่สนใจในโครงการส่วนพระองค์ฯ
ที่มาhttp://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6/sri07/zalapow/bgbg4-1-7.html สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2553

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น