วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการพัฒนาพื้นที่บ้านหัวเขาอันเนื่องมาจากพระราชดำริและโครงการปลูกพืชไร้ดิน (Hydroponics)

โครงการพัฒนาพื้นที่บ้านหัวเขาอันเนื่องมาจากพระราชดำริและโครงการปลูกพืชไร้ดิน (Hydroponics)ตำบลบ้านพระ อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี

ความเป็นมา พระราชดำริ1. ด้านการผลิตพืช โครงการมีระบบการผลิตทั้งสิ้น 3 ระบบ คือ ระบบ DFT (Deep Floating technique ) มีจำนวน 15 โต๊ะปลูกและจัดสร้างเพิ่มขนาด 8.2*1.2 ม. จำนวน 4 โต๊ะ และ ขนาด 1.2*6 ม.จำนวน 9 โต๊ะ รวมมีโต๊ะปลูกระบบ DFT ทั้งสิ้น 28 โต๊ะปลูก ส่วนระบบ NFT(Nutrient Film Technique)มีจำนวน 2 โต๊ะปลูก โดยพืชผักที่ปลูก คือ ผักบุ้ง ผักกว้างตุ้ง ผักคะน้า คื่นช่าย เป็นต้น ผักผล เช่น มะเขือเทศผลโต มะเขือเทศเชอร์รี่ ทางโครงการได้มีการประชาสัมพันธ์ผลิตผลของโครงการให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ป้อนตลาดท้องถิ่น หน่วยงานราชการในชุมชน สถานที่จำหน่ายผลผลิต ได้แก่ ศูนย์วิปัสสนาธรรมกมลา โรงพยาบาลอภัยภูเบศน์ ศูนย์ราชการ ธนาคารต่างๆ ตลาดนัดเกษตรเช้าวันศุกร์หน้าศาลากลางเก่า และนักท่องเที่ยวที่สัญจร โดยรายได้โครงการเท่ากับ 50,690 บาท (ห้าหมื่นหกร้อยเก้าสิบบาท)
2. งานบริการด้านอื่นๆ ทางโครงการได้ประสานงานกับพัฒนากรในการจัดประชุมเผยแพร่วัตถุประสงค์ของโครงการและความรู้ด้านการปลูกพืชไร้ดินให้กับเกษตรกร ประชาชน และนักเรียน นักศึกษาที่สนใจโดยปัจจุบันพื้นที่โครงการเป็นที่รู้จักในฐานะเป็นพื้นที่สาธิตการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินให้กับเกษตรกรในระดับหนึ่งถึงแม้ว่าเกษตรกรยังไม่เข้าร่วมปลูกพืชไร้ดินกับทางโครงการเท่าที่ควร2.1) จัดนิทรรศการการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินร่วมกับกองพันทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ บริเวณแปลงเกษตรผสมผสานค่ายพรหมโยธี เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เรื่องการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินให้กับทหารที่สนใจ2.2) บริการข้อมูลทางวิชาการ และเป็นแปลงสาธิตให้กับบุคคลที่สนใจดูงานเข้าเยี่ยมชม อาทิเช่น คณะ อ.ส.ม.ของ ตำบลบ้านพระ อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ได้มาเยี่ยมชมพื้นที่โครงการ และซื้อผลผลิตในโครงการ2.3) จัดนิทรรศการการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินร่วมกับโรงเรียนเทศบาล 3 ที่เทศบาลเมืองปราจีนบุรี2.4) จัดการฝึกอบรมแก่เกษตรกรโครงการพักชำระหนี้ ธกส. เมื่อวันที่ 9 เดือนตุลาคม 2551 จำนวน 90 คน เพื่อเพิ่มความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพเสริมสร้างรายได้แก่ครัวเรือนต่อไป
การดำเนินงานในระยะต่อไปเต็มพื้นที่ที่มีอยู่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวทางการตลาดให้เพิ่มมากขึ้น จะได้มีการประชาสัมพันธ์ และจำหน่ายผลผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง เป็นอีกทางเลือกให้เกษตรกร และหน่วยงานราชการในชุมชนอย่างต่อเนื่องต่อไป
ที่มาhttp://www.chaipat.or.th/chaipat/index.php?option=com_content&view=article&id=734:---&catid=144:east&Itemid=176 สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2553

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น